เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 19 ตุลาคม 2564 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 4851 คน
มิวสิกวิดีโอ สรุปกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี พ.ศ. 2563 โดย ศูนย์ประสานงานดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและธนาคารออมสิน ร่วมกับ ธนาคารออมสินภาค 8 เผยแพร่ที่ Facebook Page ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นพลัส มทร.ล้านนา [https://fb.watch/8IJfRNGmJ4/]
MV สุขที่ใจ...ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มทร.ล้านนา
คำร้อง/ทำนอง สมาคมสหภาพคนตาบอด จังหวัดเชียงใหม่
ความยาว 3:49 นาที
จากบันทึกความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ ธนาคารออมสิน ร่วมกันเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการ "ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น" ปี พ.ศ.2563 เพื่อพัฒนาความรู้ เสริมภูมิปัญญา สร้างคุณค่าเศรษฐกิจชุมชน คณะทำงานได้สรุปผลงานการดำเนินงานโครงการฯ จำนวน 8 โครงการ ในช่วงปี พ.ศ. 2563 - 2564 โดยศูนย์ประสานงานดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและธนาคารออมสิน ร่วมกับธนาคารออมสินภาค 8 ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมการเข้าร่วมการประชุมและจัดนิทรรศการผลิตภัณฑ์เสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมการนำเสนอผลงานโครงการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กิจกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ จำนวน 8 แห่ง และกิจกรรมการนำเสนอผลการดำเนินงานและนิทรรศการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ประกอบบทเพลง "สุขที่ใจ...ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มทร.ล้านนา" แต่งคำร้อง-ทำนอง โดย สมาคมสหภาพคนตาบอด จังหวัดเชียงใหม่
กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี พ.ศ. 2563 มุ่งเน้นให้นักศึกษาที่เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการฯ เกิดการเรียนรู้ เข้าใจในวิถีชีวิต เอกลักษณ์และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาไทยและทรัพยากรอันมีค่าช่วยกันจรรโลงรักษาให้อยู่ คู่สังคมไทยสืบต่อไป นอกจากนั้นยังช่วยส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มองค์กรชุมชน ประเภท กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ/หรือ กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP องค์กรชุมชน / กลุ่มอาชีพในชุมชน ทั้งด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้สามารถเข้าสู่ตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขัน เกิดกระบวนการเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิดความสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างกลุ่มองค์กรชุมชน หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง และนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมไปถ่ายทอดสู่ชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ตอบสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยนักปฏิบัติ (Hands-On University) “ครูได้สอน นักศึกษาได้ฝึก สังคม ชุมชนได้ประโยชน์”
โครงการฯ จำนวน 8 โครงการ ประกอบด้วย
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา