โลโก้เว็บไซต์ จุดไฟแห่งความคิด..สู่โลกที่ยั่งยืน กิจกรรมประกวด Smart Start Idea by GSB Startup ประจำปี 2567 | โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น

จุดไฟแห่งความคิด..สู่โลกที่ยั่งยืน กิจกรรมประกวด Smart Start Idea by GSB Startup ประจำปี 2567

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 8 มีนาคม 2567 โดย Pakawadee Wutthiwai จำนวนผู้เข้าชม 8036 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

จุดไฟแห่งความคิด..สู่โลกที่ยั่งยืน

กิจกรรมประกวด Smart Start Idea by GSB Startup ปี 2567

     กิจกรรมที่ช่วยให้นักศึกษา และศิษย์เก่า เกิดแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมใหม่ ๆ และสามารถนำแนวคิดที่เกิดขึ้นไปพัฒนาเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เมื่อได้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่พร้อมจัดจำหน่ายแล้ว ธนาคารออมสินจะสนับสนุนการจัดตั้งกิจการให้กับนิสิต นักศึกษา ได้มีโอกาสเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ และจะมีการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจควบคู่กันไป

จุดเด่นกิจกรรม 

  • นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ เริ่มตั้งแต่การสร้างแนวคิดธุรกิจ จนสามารถประกอบธุรกิจได้จริงเกิดการเรียนรู้ การสร้างสรรค์นวัตกรรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายธุรกิจ รวมถึงการได้มีโอกาสในการเริ่มดําเนินธุรกิจตั้งแต่ขณะศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย

รายละเอียดกิจกรรม

  • กำหนดโจทย์ให้ นักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ ไม่เกิน 5 ปี ร่วมประกวดในโครงการสร้างผู้ประกอบการ Micropreneur (GSB Micropreneur Academy) เพื่อค้นหา Smart Start Idea by GSB Startup โดยร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าหรือบริการทุกประเภทธุรกิจ ภายใต้แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Environment, Social, Governance : ESG) เพื่อรับทุนการศึกษาและต่อยอดสู่การพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการได้จริง

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมกิจกรรม

  • เป็น นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

  • เป็น นักศึกษา ที่จบการศึกษามาแล้วไม่เกิน 5 ปี รวมทีมกับนิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ทั้งนี้ต้องมีนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในทีมอย่างน้อย 1 คน)

  • มีจำนวนสมาชิกในทีม ไม่เกินทีมละ 10 คน

  • ต้องมีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามที่ธนาคารกำหนดในปี 2567 และต้องมีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมจัดตั้ง Smart Startup Company by GSB Startup หากผ่านเข้ารอบ 25 ทีมสุดท้าย (รอบ Prototype to Company)

  • นักศึกษา ที่เข้าร่วมกิจกรรมประกวด Smart Start Idea by GSB Startup ต้องสมัครใช้บริการผลิตภัณฑ์ประเภทใดประเภทหนึ่งของทางธนาคารออมสิน ณ วันที่สมัครส่งผลงานเข้าร่วมประกวด เช่น บัญชีเงินฝาก, Application MyMo, บัตร VISA, บัตร ATM เป็นต้น

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ต้องกด Like & Share Facebook: GSB SMEs Startup หรือที่ธนาคารกำหนดพร้อมตั้งค่าเป็นสาธารณะ

การจัดประกวด

1. รอบระดับมหาวิทยาลัย
คณะกรรมการตัดสินผลงานระดับมหาวิทยาลัยทำการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น และทำการพิจารณาคัดเลือกผลงานระดับมหาวิทยาลัยจาก Clip Video และ Project Proposal ที่นิสิต นักศึกษา นำเสนอ ให้เหลือจำนวน 3 ผลงานเพื่อเข้าร่วมการประกวดผลงานระดับประเทศ
2. รอบคัดเลือก 40 ผลงานระดับประเทศ
คณะอนุกรรมการตัดสินกิจกรรมการจัดประกวด Smart Start Idea by GSB Startup จะทำการพิจารณาคัดเลือกผลงานระดับมหาวิทยาลัยที่ส่งเข้าร่วมประกวดระดับประเทศจาก Clip Video และ Project Proposal ที่นิสิต นักศึกษา นำเสนอ ให้เหลือจำนวน 40 ผลงาน เพื่อส่งต่อให้คณะกรรมการตัดสินการประกวดผลงานกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup พิจารณาตัดสินผลงานในรอบ Prototype to Company
3. รอบ Prototype to Company
นักศึกษา เจ้าของผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะอนุกรรมการฯ ของธนาคารออมสิน จำนวน 40 ผลงาน ต้องนำเสนอผลงาน (Pitching) และแผนธุรกิจ (Business Plan) ต่อคณะกรรมการตัดสินการประกวดผลงานกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup ผลงานละไม่เกิน 3 นาที พร้อมตอบข้อซักถามจากคณะกรรมการฯ ผลงานละไม่เกิน 5 นาที ในรอบนี้คณะกรรมการฯ จะพิจารณาตัดสินผลงานให้เหลือ 25 ผลงาน เพื่อรับทุนการศึกษาจากธนาคารออมสิน

การรับสมัคร รอบระดับมหาวิทยาลัย

  • ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2567

  • ส่งเอกสารที่ อีเมล ubi@rmutl.ac.th และ Facebook : UBI RMUTL

ดาวน์โหลดเอกสาร

      1.ใบสมัครเข้าร่วมกิจกรรม Smart Start Idea 2567

      2.แบบฟอร์มรายละเอียดผลงาน

รายละเอียดโครงการ Smart Start Idea 2567 (คลิก)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : UBI RMUTL

แหล่งอ้างอิงของบทความ : จุดไฟแห่งความคิด..สู่โลกที่ยั่งยืน กิจกรรมประกวด Smart Start Idea by GSB Startup ประจำปี 2567 – Government Savings Bank






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา