โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมกับ ธนาคารออมสิน ภาค 8 ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รูปแบบ Micro Tourism ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวทากาศเหนืออำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน โครงการย่อยภายใต้ โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น (มทร.ล้านนา) ประจำปี 2566 | โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น

มทร.ล้านนา ร่วมกับ ธนาคารออมสิน ภาค 8 ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รูปแบบ Micro Tourism ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวทากาศเหนืออำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน โครงการย่อยภายใต้ โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น (มทร.ล้านนา) ประจำปี 2566

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 28 สิงหาคม 2566 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 1269 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีวรรณ ราชสม รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน พร้อมด้วย บุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ซึ่งเป็นคณะกรรมการดำเนินงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ประจำปี พ.ศ. 2566 ร่วมกับ คุณนคร สุวรรณกาศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ภาค 8 หน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน พร้อมด้วยทีมงาน ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รูปแบบ Micro Tourism ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวทากาศเหนืออำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน โครงการย่อยภายใต้ โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น (มทร.ล้านนา) ประจำปี พ.ศ. 2566 ทีม อรรถรส (At Tha Road) ในการนำเสนอแนวทางการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ เน้นกลุ่มครอบครัว กลุ่มวัยแรงงาน และกลุ่มผู้สูงอายุ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมให้กับภาคการท่องเที่ยวชุมชน และวิสาหกิจชุมชนให้มีโอกาสสร้างมูลค่าจากการดำเนินธุรกิจ พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวในการกระบวนการผลิตของวิสาหกิจชุมชน ด้วยเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ร่วมกับกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวทากาศเหนือ เพื่อดึงดูดการเดินทางท่องเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับในช่วงเสาร์อาทิตย์ สร้างการกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่นและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์  และมีความแข็งแกร่งด้านอัตลักษณ์ทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม โดยมี สมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนทากาศวิลเลจ และกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีในชุมชน ร่วมให้การต้อนรับ พร้อมนำชมกระบวนการผลิตผ้าพิมพ์ลายธรรมชาติ Eco Print ของกลุ่มสตรีอำเภแอม่ทอ "บ.ใบไม้" , กระบวนการผลิตผ้าทอกี่เอว ผ้าปักลูกเดือย ของกลุ่มผ้าทอมือ กะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด, และร่วมเรียนรู้วัฒนธรรมอาข่า และอาหารว่างจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ณ ที่ทำการกลุ่มผ้าพิมพ์ลายธรรมชาติ สตรีอำเภอแม่ทา (Mae Tha Eco-Print) จังหวัดลำพูน


ในโอกาสนี้ คณะกรรมการฯ เข้าร่วม "กิจกรรมเปิดบ้านท่องเที่ยว : ชุมชนท่องเที่ยว The Kad Village และศูนย์การเรียนรู้ Mae Tha Eco Print ลำพูน"  จัดโดย กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนทากาศวิลเลจ ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายธวัชชัย อุบลพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดลำพูนเป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม เพื่อเปิดเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนทากาศวิลเลจ และแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม  ตลอดจนการบูรณาการการทำงาน  ระหว่างชุมชนท่องเที่ยวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มุ่งเป้าหมายการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ อย่างยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมนี้ ทีม อรรถรส (At Tha Road) ร่วมเป็นฝ่ายจัดงาน ณ ที่ทำการกลุ่มผ้าพิมพ์ลายธรรมชาติ สตรีอำเภอแม่ทา (Mae Tha Eco-Print) จังหวัดลำพูน


โครงการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รูปแบบ Micro Tourism ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวทากาศเหนืออำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน โครงการย่อยภายใต้ โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น (มทร.ล้านนา) ประจำปี พ.ศ. 2566 มีระยะเวลาดำเนินกิจกรรม ระหว่างเดือน พฤษภาคม - กันยายน พ.ศ. 2566 ของ ทีม อรรถรส (At Tha Road) ประกอบด้วย นักศึกษา 2 คณะ จำนวน 6 ราย ได้แก่ หลักสูตรสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิตอล คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 4 ราย และ หลักสูตรการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ จำนวน 2 ราย ลงสำรวจพื้นที่เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสำหรับใช้ในการออกแบบที่ตรงตามความต้องการ จากนั้นออกแบบบริการและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับศูนย์เรียนรู้ฯ ดำเนินการทดสอบความพึงพอใจเพื่อให้ทราบระดับความพึงพอใจของกลุ่มและช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสม เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับชุมชนเพื่อนำไปพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน ณ กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวทากาศเหนืออำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน โดยมีอาจารย์ภฤศพงศ์ เพชรบุล อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ อาจารย์หลักสูตรสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิตอล จำนวน 2 ราย อาจารย์หลักสูตรสิ่งทอและเครื่องประดับ จำนวน 1 ราย อาจารย์หลักสูตรการท่องเที่ยวและบริการ จำนวน 1 ราย และผู้เชี่ยวชาญภายนอก จำนวน 1 ราย ทำหน้าที่อาจารย์พี่เลี้ยงกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาได้รับความเข้าใจและประสบการณ์ในการลงพื้นที่ชุมชน เห็นคุณค่าของทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการ เสริมสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มทำงานต่อยอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบในการนำเอาหลักการกระบวนการคิดเชิงออกแบบและการออกแบบบริการมาประยุกต์ใช้กับการท่องเที่ยวในชุมชน นอกจากนั้น สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาการสมัยใหม่ของสถาบันการศึกษาที่สามารถสร้างประโยชน์เป็นรูปธรรมที่วัดและประเมินผลได้อย่างชัดเจน พัฒนาองค์ความรู้เป็นหลักการแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพให้ตรงกับความต้องการของภาคสังคม ทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันองค์กรชุมชน คนในชุมชน นอกจากนี้ เพื่อสามารถพัฒนามูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยวให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น สร้างโอกาสทางการตลาดและการแข่งขันส่งผลต่อความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจรากฐานอย่างยั่งยืน
 

 

ข้อมูล/ภาพ คณะกรรมการดำเนินงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ประจำปี พ.ศ. 2566
 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา